Categories
PDPA Tips

ทำไมต้องรีบทำ Privacy Policy?

คำถามที่ผู้ประกอบธุรกิจทุกคนอาจมีในใจตอนนี้คงหนีไม่พ้น คำถามว่า ตอนนี้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) เลื่อนผลบังคับใช้ไปอีกปี แล้วทำไมเราต้องรีบมาทำ Privacy Policy หรือนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลอยู่อีก ในเมื่อไม่มีความผิด โทษแพ่ง อาญา ปกครองต่างๆ ก็ถูกเลื่อนไปด้วย ความเป็นจริงแล้ว สำหรับ “Privacy Policy” ยิ่งรีบทำยิ่งดี

การทำ Privacy Policy เป็นหน้าที่ภายใต้พรบ. ที่ทำได้ง่าย และปิดความเสี่ยงได้ไว

หน้าที่หลักข้อแรกสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้ พรบ.คุ้มครองข้อมูล คือ ธุรกิจที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคล ต้องแจ้ง ให้เจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลทราบ “ก่อน” หรือ “ขณะที่” ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ทุกธุรกิจที่ต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจึงอยู่ภายใต้บังคับต้องทำ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)

การแจ้ง Privacy Policy นี้ต้องแจ้งสำหรับทั้งข้อมูลส่วน บุคคลที่เก็บ ก่อนหรือหลัง พรบ. มีผลบังคับใช้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นตอนนี้ หรือหลังจากพรบ. มีผลในอีกหนึ่งปี หน้าที่การทำนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลนี้ก็ยังคงอยู่

ผลของการไม่ทำและไม่แจ้ง เมื่อพรบ. มีผลบังคับใช้ แปลว่า ธุรกิจนั้นมีความผิดทันที โทษแรกที่มีแนวโน้ม โดนบังคับสูงสุดคือ “โทษทางปกครอง” ในจำนวนเงิน สูงสุด ไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท ไม่รวมโทษทางแพ่ง และอาญาที่อาจมีตามมา หากพิสูจน์ความเสียหายของการไม่แจ้งดังกล่าวได้

ทั้งนี้แสดงว่าถ้าหากเจ้าของข้อมูลเปิดหน้า Website หรือ Application ไหนแล้วไม่เจอ Privacy Policy หรือแม้แต่ถ้าเดินเข้าร้านอาหาร หรือสถานที่ใดๆ ที่มีการติดกล้อง CCTV แล้วไม่เจอ Privacy Policy การแจ้งก่อนการใช้บริการ เจ้าของข้อมูลดังกล่าวมีสิทธิร้องเรียน ต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อดำเนินการปรับ เจ้าของธุรกิจที่ไม่แจ้งนั้นๆ ได้ทันที

หากธุรกิจแจ้ง Privacy Policy ก่อนย่อมได้เปรียบ

ทันทีที่แจ้งก็เท่ากับ ธุรกิจนั้นได้ดำเนินการหน้าที่ตามพรบ. เรียบร้อย หนึ่งข้อ ไม่ต้องกังวลโดนโทษปกครองไปหนึ่งข้อ นอกเหนือจากนั้นยังเป็นการได้ทดลองใช้ระบบต่างๆในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่ไม่มีโทษหรือความผิดในการทำไม่ถูกต้องแต่อย่างใด

Privacy Policy ต้องแจ้งอะไรบ้าง?

พรบ.กำหนดหัวข้อขั้นต่ำที่ต้องมีการแจ้งใน Privacy Policy ไว้ดังนี้ ถ้าแจ้งไม่ครบ = ยังไม่พ้นความรับผิด

  • ข้อมูลส่วนบุคคลใดบ้างที่มีการใช้
  • วัตถุประสงค์และวิธีการเก็บและใช้ข้อมูลส่วน บุคคลดังกล่าว พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการเก็บ
  • ประเภทของหน่วยงาน / บุคคลที่อาจมีการเปิด เผยข้อมูลส่วนบุคคลไปให้
  • สิทธิของเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นสิทธิที่พรบ. กำหนดคุ้มครองให้
  • ข้อมูลติดต่อของธุรกิจดังกล่าว ในฐานะผู้ควบ คุมข้อมูล

ถ้าหากเจ้าของธุรกิจไหนไม่รู้ว่าจะเริ่มทำ Privacy Policy อย่างไร สามารถเข้ามาใช้บริการสร้าง Privacy Policy ง่ายๆใน 2 นาที กับทาง EasyPDPA ที่นี่

ทำ Privacy Policy เสร็จแล้วต้องเอาไปแจ้งยังไง?

หลักการง่ายๆคือเราใช้ข้อมูลส่วนบุคคลช่องทางใด หรือลักษณะใด ก็ประกาศแจ้ง Privacy Policy ไปที่ช่องทางดังกล่าว เช่น

  • ใช้ข้อมูลผ่าน Website / Application สามารถนำ Privacy Policy ไปแจ้งก่อนการสร้าง User Account ของผู้ใช้บริการ หากไม่ยอมรับ ธุรกิจ สามารถปฏิเสธการสร้าง User Account ได้
  • ใช้แจ้งไว้ที่ป้ายใต้ CCTV หรือทางเข้าสถานที่ที่ ติดตั้ง CCTV โดยต้องชัดเจนพอเพื่อให้บุคคล ที่จะเข้าไปในสถานที่ดังกล่าวเข้าใจ

ใช้ Privacy Policy ฉบับเดียบ Version เดียวไปตลอดเลยได้หรือไม่?

Privacy Policy ควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับ Features และการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีมากขึ้น แต่การ แก้ไขดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ตลอด ด้วยการประกาศการปรับปรุงนั้นผ่านช่องทางเดิม โดยเป็นการใช้สิทธิปรับปรุงแก้ไขฝ่ายเดียวได้

ด้วยความง่ายในการใช้ Privacy Policy เพื่อปิดช่องความเสี่ยง และความรับผิดจากการไม่มีและไม่ประกาศ Privacy Policy เพราะฉะนั้น เราก็สามารถสรุปได้ว่า “Privacy Policy ยิ่งประกาศไว ยิ่งได้เปรียบ

Categories
PDPA Tips

คู่มือนายจ้างยุค PDPA: เก็บข้อมูลพนักงาน อย่างไรให้ถูก กฎหมาย PDPA?

TL;DR (หากไม่มีเวลาอ่านสรุปแต่นี้พอ)
ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลอื่นๆ เราสามารถเก็บได้ตามกฎหมาย แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าตัวทราบผ่านการใช้ HR Privacy Policy

หากบริษัทคุณมีการจ้างพนักงาน หนึ่งในข้อมูลที่นายจ้างทุกคนจะต้องขอจากพนักงาน คือ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประชาชน อีเมล หมายเลขบัญชีธนาคาร อาจจะรวมไปถึงข้อมูลอื่นๆที่ประกอบการสัมพาษณ์งาน (เช่นใน CV) หรือการทำงานด้วยใช่ไหม? ซึ่งจริงๆแล้วข้อมูลเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Identifiable Information, PII) ตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลบุคคล พ.ศ. 2562 หรือจะเรียกย่อๆว่า PDPA ทั้งสิ้น ตามกฎหมายแล้วเจ้าของข้อมูล (ในที่นี้คือพนักงาน หรือลูกจ้าง) จะได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ของตัวเอง ในกรณีการว่าจ้างพนักงานนี้ก็ไม่ได้รับการยกเว้นใดๆ และนายจ้างยังต้องทำตาม กฎหมาย PDPA อีกด้วย

แต่นายจ้างหรือเจ้าของบริษัทอย่าพึ่งตกใจไป เรายังสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้ตามปกติ ตราบใดที่เรามีความจำเป็นตามกฎหมาย (ซึ่งที่หนีไม่พ้นคือการจ่ายเงินเดือน, หักภาษี และการส่งประกันสังคม) หรือตามลักษณะการจ้างงานของเรา เพียงแต่จะต้องมีการแจ้งให้พนักงานทราบอย่างชัดเจนเท่านั้นเอง ว่าเราเก็บข้อมูลอะไรบ้างและนำไปใช้เพื่ออะไรบ้าง ซึ่งในที่นี้นายจ้างสามารถแจ้งผ่านเอกสารที่ขอตั้งชื่อว่า HR Privacy Policy

HR Privacy Policy คืออะไร?

HR Privacy Policy เป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือบริษัทเพื่อแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบว่า บริษัทมีการเก็บข้อมูลพนักงานอะไรไปบ้าง เอาไปใช้เพื่ออะไร จะเก็บรักษาให้ปลอดภัยยังไง รวมไปถึงจะลบหรือทำลายข้อมูลเมื่อไหร่ และถ้าพนักงานมีข้อสงสัยเรื่องข้อมูลเหล่านี้สามารถติดต่อใครได้ ซึ่งหากมองกันดีๆแล้ว มันก็เหมือนกับ Privacy Policy ของบริษัทกับลูกค้านี่เอง แต่เป็น version สำหรับพนักงานในบริษัท

เริ่มต้นทำ HR Privacy Policy ได้แบบง่าย ๆ

ทางบริษัทหรือนายจ้างสามารถร่างรายละเอียดต่างๆตามที่ กฎหมาย PDPA ระบุไว้หรือหากไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง EasyPDPA เรามีบริการสร้าง HR Privacy Policy ง่ายๆสำหรับบริษัทหรือนายจ้างในประเทศไทย ในราคาเริ่มต้นเพียงแค่ 3,990 บาท

บริษัทจำเป็นต้องขออนุญาต (consent) จากพนักงานในการเก็บหรือไม่?

ส่วนใหญ่แล้วข้อมูลที่บริษัทเก็บล้วนแต่มีความจำเป็นในการทำงานหรือมีความจำเป็นตามทางกฎหมายทั้งสิ้น ซึ่งหากเป็นไปตามนี้บริษัทไม่จำเป็นต้องขออนุญาตในการเก็บ เพียงแต่ต้องแจ้งให้ทราบเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น

  • การเก็บชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนสำหหรับการยื่นภาษีและประกันสังคม
  • การเก็บชื่อ และ หมายเลขบัญชีธนาคาร เพื่อใช้โอนเงินเดือน
  • การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติในการทำงาน เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และประวัติอาชญากรรม เพื่อการประเมินความเหมาะสมในการจ้างพนักงาน
  • การเก็บข้อมูลการทำงาน เช่น ประวัติการเข้าทำงาน แบบประเมินความสามารถและการวัดผลต่างๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน

อย่างไรก็ตามบริษัทหลายแห่งมีการเก็บรูปถ่าย หรือลายนิ้วมือของพนักงาน (เช่นสำหรับการเข้าออกประตู หรือลงเวลาทำงาน) ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive PII) ทางบริษัทต้องขอความยินยอมจากทางพนักงานทุกครั้ง

บริษัทสามารถแจ้ง HR Privacy Policy ให้พนักงานทราบได้อย่างไรบ้าง?

การแจ้งให้ทราบสามารถทำได้หลายวิธี เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมดังนี้

  • ส่งอีเมลหาพนักงานทุกคน
  • ปิดประกาศ HR Privacy Policy ในสำนักงาน ในตำแหน่งที่พนักงานทุกคนเห็นได้ชัด
  • รวมไว้เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาจ้างงาน

พนักงานสามารถปฎิเสธการให้ข้อมูล หรือขอลบข้อมูลบางส่วนได้หรือไม่?

ในกรณีทั่วไปแล้วหากพนักงานยังมีสถานะการเป็นลูกจ้างกับบริษัทอยู่ตามสัญญาจ้างงาน พนักงานไม่สามารถปฏิเสธการให้ข้อมูลหรือขอลบข้อมูลส่วนบุคคลนี้ได้ เนื่องจากเป็นการเก็บตามข้อบังคับของกฎหมาย หรือ ตามสัญญาจ้าง

ขอสรุปการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ให้ถูกต้องกฎหมาย PDPA ง่ายๆดังนี้

  • สามารถเก็บข้อมูลได้ตามกฎหมาย
  • บริษัทไม่ต้องขออนุญาตแต่ต้องแจ้งให้พนักงานทราบ
  • ตัวช่วยสร้าง HR Privacy Policy ง่ายๆ ที่นี่

เริ่มต้นการเก็บข้อมูลให้ถูกต้อง ให้ EasyPDPA แนะนำแพ็กเกจ PDPA สำหรับ HR ที่ตอบโจทย์กับความต้องการมากที่สุดให้ ไม่ว่าจะเป็น

  • Privacy Policy: แพ็ครวบรวมเอกสาร PDPA ทุกด้าน สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มต้นเพียง 1,290 บาท
  • HR Privacy Policy แพ็ครวบรวมเอกสาร PDPA สำหรับการทำงานของ HR โดยเฉพาะ เริ่มต้นเพียง 3,990 บาท

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่:

ทำไม HR ยุคใหม่ ต้องรู้ PDPA?

PDPA คืออะไร? – สรุป PDPA เกี่ยวกับธุรกิจที่คุณควรรู้! ฉบับเข้าใจง่าย